วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประกาศเจตนารมณ์
    ผม ด.ช.ภาพตะวัน   อินทสะโร ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนอนุบาลระนอง ป.6/1 ได้จัดทำบล็อกนี้ขึ้นมาเพื่อนำเสนอเกี่ยวกับ จักรยานฟิกเกียร์  ผมคิดว่าเรื่องที่ผมนำเสนอนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจ




My blogger is  www.gearranong.blogspot.com

E-mail  pabtawan12@hotmail.com

ข้อดีของ Fixed gear

สามารถที่จะควบคุมความเร็ว หรือหยุดรถ ได้ตามการเคลื่อนไหวของเท้าทั้งสอง และเป็นการออกกำลังกายที่ดีมาก เพราะเท้าทั้งสองจะต้องหมุนไปตามเกียร์ตลอดเวลา

ข้อเสียของ Fixed gear

ถ้าควบคุมหรือบังคับรถไม่ดี อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุหน้าแหกได้ หากไม่สวมชุดป้องกันหรืออุปกรณ์ป้องกันเอาไว้ เวลาขับเคลื่อนบน ถนนใหญ่ ก็ควรขับขี่ชิดซ้าย ทางจักรยานเอาไว้ จะได้ไม่เกิดอุบัติเหตุ ร้ายแรงตามมาในภายหลัง

กลุ่มที่นิยมขี่ Fixed gear



 เด็กวัยรุ่น แนวแฟชั่น แต่งรถสวย ๆ สีเจ็บ ๆ เอามาปั่นเล่นให้เข้ากะเทรน fixie ปั่นออกกำลังกาย ก็คงเหมือนจักรยานชนิดอื่นอ่ะครับ แค่เลือกที่จะเอา fixie มาเป็นเครื่องมือออกกำลังกายเพราะความชอบส่วนตัว

ปั่น fixed gear สิ่งที่ต้องคำนึงมากสุดคือต้องแลกความสนุกกะความปลอดภัยเล็กน้อยครับ วิธีแก้ที่ใช้กันโดยทั่วไปคือ ใช้ gear ratioแล้วเวลาปั่นแรก ๆ อย่าปั่นเร็วมากถ้าไม่มั่นใจว่าจะมีเหตุการณ์ที่ต้องทำให้หยุดรถกระทันหัน ในขณะเดียวกัน ฝึก skid stop ทำไม่ยากครับ โน้มตัวไปด้านหน้า เอาหน้าขายันกะบาร์เพื่อล็อค motion ของขา ในขณะเดียวกัน ใช้ขาข้างนั้นยันกะ pedal เพื่อล็อค motion ของ pedal ด้านนั้น พอล้อหลังเริ่มล็อคแล้วเริ่มสไลด์กะพื้น ก็โน้มตัวกลับเพื่อเพิ่มน้ำหนักให้ล้อหลัง
Fixed gear ที่นิยมที่สุด


fixed gear bikes ในอเมริกาก็เพิ่งมาฮิตกันแบบเข้าสายเลือดไม่กี่ปีนี้เหมือนกันครับ หน้าร้อนที่แล้วแถวบ้านผมไม่เห็นมีคนปั่นเลย ส่วนใหญ่จะปั่นกันมากในดง hipstersใกล้ ๆ ดาวน์ทาวน์ แต่ปีนี้เห็นปั่นกันเพียบเลย ผมว่าในญี่ปุ่นกะฮ่องกง สองประเทศนี้เห็นคนบ้า fixies เยอะ พัฒนาการก็คงคล้าย ๆ กัน สรุปคือ ประเทศอื่นก็เพิ่งมาฮิตกันไม่กี่ปีนี้ครับ
ทำไมปั่น Fixed Gear ถึงสนุก
1.ฟิคเกียร์ ก็เหมือนจักรยานทั่วๆไปแต่ต่างกันตรงที่มีเกียร์เดียวฟรีขา
ไม่ได้ ปั่นเดินหน้าก็เดินหน้า ปั่นถอยหลังก็ถอยหลัง ทรงตัวบนรถได้ เป็นการออกกำลังได้ดีมาก ถ้าทำให้ฟรีขาก็ได้ก็จะเรียกSingle Speedคับอันนี้ใส่ฟรีติดเบรคคับ
2.ฟิคเกียร์ ชื่อฟิคก็จิงแต่การแต่งรถไม่ฟิคตามชื่อเลยคับ สีสันสวยสด เราจะตกแต่งอะไรลงไปในรถของเราก็อย่างอิสระ ซื้อสีมาพ่น เพน เขียนชื่อ วาดรูป หรือซื้ออุปกรณ์เสริมมาติด เช่น ไฟ กระเป๋า สายห้อย พวงกุญแจ สายล๊อครถ สติกเกอร์ต่าง จุ๊กลม การ์ดติดล้อ แตร กระดิ่ง ฯลฯ
3.ฟิคเกียร์ เป็นรถจักรยานที่ ไม่ต้องการการดูแลรักษามาก เหมือนรถจักรยานทั่วๆไป เพราะมีแค่จานหน้ากับค๊อกหลังเท่านั้น
4.ฟิคเกียร์ เป็นจักรยานที่สามารเล่นท่าได้หลากหลายยกตัวอย่างการเบรค(สคิด)แค่เห็นการเบรคล้อตาย สาวๆก็หันมามองแล้วคับ แต่อย่ามั่วแต่มองสาวนะคับเด๊ยวจะชนซะก่อน 


5.ฟิคเกียร์ ยังสามารถปั่นไปกับกลุ่มแก็งต่างๆทำกิจกรรมร่วมกันเช่น ทานข้าว คุยสังสรรค์ นัดเจอเพื่อน ประหยัดตังค่ารถ ค่าน้ำมัน ออกกำลังกายไปในตัว

ประเภทของจักรยาน Fixed gear


- แบบแรกใช้ขี่ทั่ว ๆ ไป หรือเล่นท่าบ้างเล็กน้อยเรียกขานกับในหมู่ผู้นิยม Fixed gear แนวนี้ว่า สายปั่น
- แบบที่สอง ผู้ที่นิยมแนวนี้จะขี่เล่นท่าผาดโผน แนวนี้จะเรียกว่า “สายทริค”
ต่อไปเราจะมาดูกันต่อว่าสายปั่นกับสายทริคนั้นเขาเอาอะไรเป็นตัวแบ่งประเภท
ส่วนที่ 1 ตัวถัง
- สายปั่น นั้นจะมีโครงสร้างของตัวถังที่มีรูปทรงเพรียวบางใช้พื้นฐานของรถเสือหมอบประเภทลู่มีทั้งแบบ คอแบบเสียบ คอแบบนิ้วหุน และแบบ Overside
- สายทริค นั้นโครงสร้างของตัวถังจะดูบึกบึนเป็นจุดเชื่อมต่อต่าง ๆ จะมีการเสริมเพิ่มความแข็งแรงของตัวถัง เพื่อรองรับการบิดตัวจากแรงเค้นที่เกิดจากการเล่นท่าผาดโผนและการกระโดดมาจากที่สูง ที่อาจจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ตัวถัง รูปทรงของตัวถังจะมีลักษณะผสมผสานกับระหว่างจักรยานเสือหมอบและเสือภูเขา ช่วงระยะห่างจากกะโหลกจนสุดตะเกียบหลัง (Chain stay) จะมีขนาดยาวกว่าสายปั่น เพื่อรองรับขนาดของยางที่ใหญ่ขึ้นช่วงตะเกียบหน้าก็มีขนาดยาวขึ้นด้วยเช่นกัน
ส่วนที่ 2 ด้ามจับบังคับเลี้ยว ( Handle Bar)
- สายปั่นจะมีด้วยกัน 3 แบบ แบบแรกเรียกว่า บลูออน มีลักษณะเหมือนเขาควาย แบบที่สอง เรียกว่า แฮนด์ดรอป ลักษณะเหมือนแฮนด์เสือหมอบ แบบที่สาม ด้ามจับบังคับเลี้ยวแบบสั้น
- สายทริคด้ามจับบังคับเลี้ยวจะมีลักษณะยกขึ้นสองนิ้วขึ้นไป ซึ่งจะช่วยให้การดึงด้ามจับบังคับเลี้ยวในการยกล้อเล่นท่าทำได้ง่าย ลักษณะของด้ามจับบังคับเลี้ยวจะมีโลว์บาร์อยู่ด้านบนเหมือนจักรยาน BMX
ส่วนที่ 3 วงล้อ (Whell)
- สายปั่น ขนาดของลงล้อจะใช้พื้นฐานของจักรยานเสือหมอบได้เลยคือ ขนาด 700 C ขนาดของยางเบอร์ 28 หรือ 700 x 28
สายทริคเล่นท่า นั้นขนาดของวงล้อจะมีด้วยกัน 3 แบบ
- แบบแรก วงล้อขนาด 700C ของรถเสือหมอบทั่วไปมีทั้งล้อแบบซี่ลวดและแบบล้อแม็ก
- แบบที่สอง วงล้อขนาด 650 ซึ่งวงล้อขนาดนี้จะใช้ในจักรยานไตรกีฬาซึ่งเฟรมรุ่นใหม่บางยี่ห้อใช้ล้อขนาด 700C เวลาหมุนคอเล่นท่าจะทำให้ยางติดท่อเฟรมด้านล่าง จึงต้องใช้ขนาดของวงล้อลดลงเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
- แบบที่สาม วงล้อขนาด 26 นิ้ว ขนาดเท่าเมาเท่นไบค์จะใช้กับฟิกซ์เกียร์รุ่นใหม่ในบ้านเรายังไม่เป็นที่นิยมซึ่งคาดว่าในอนาคตจะได้รับความนิยมโดยเฉพาะสายเล่นท่าเพราะหายางง่ายกว่ารถฟิกเกียร์ในรุ่นใหม่ ๆ ที่ออกมาตอนนี้ได้ถูกออกแบบมาให้สามารถใช้อะไหล่ร่วมกับจักรยาน BMX ได้อีกด้วย
มาถึงตรงนี้แล้วก็คงจะพอเข้าใจและแยกออกแล้วใช้ใหม่ครับว่ารถ Fixed gear แบบใดที่จะเหมาะกับการใช้งานและการขี่ของเรา ในบ้านเราตอนนี้รถฟิกซ์เกียร์ก็มีตัวแทนจำหน่ายต่าง ๆ นำรถเข้ามาขายหลายยี่ห้อของแต่งก็มีมากมายเท่าที่เคยเข้าไปตามร้านขายจักรยานต่างอย่างน้อยก็มี 1 คัน ต่อหนึ่งร้านก็ลองซื้อหามาเล่นกันดู จะได้ไม่ตกเทรนด์ไม่แน่ว่าอาจจะเป็นแนวที่ตัวเองกำลังค้นหาอยู่ก็ได้

การดูแลรักษา Fixed Gear

ตู้ใส่ฟิกนี้ ปกติ ก็ตู้ใชว์ทั่วไปก็ได้ครับ ชอบแบบมีกระจกหรือไม่มีกระจกนี้สุดแท้แต่เจ้าของฟิก เพราะต่างคนก็รสนิยมไม่เหมือนกัน

ข้อดีข้อเสียระหว่างตู้ที่มีกระจกกับไม่มีก็ไม่เหมือนกัน 

ตู้ที่มีกระจก แน่นอนข้อดีคือฝุ่นเข้าไม่ได้ แต่มันก็มีรอดๆเข้าไปได้นะ ไม่กันได้ 100% หรอก 
ป้องกันฟิกหรือด๋อยโดดตึกฆ่าตัวตาย ได้ อันนี้ที่บ้านตึกไว้ด๋อยชอบโดดลงมาประจำ มีกระจกก็เซฟ แต่ไม่ค่อยจะเกี่ยวหรอกฮ่าๆๆข้อนี้น่ะ
ข้อเสียของตู้มีกระจกคือเรื่องความร้อน บ้านเราเมืองร้อน ถ้าบ้านใครไม่มีแอร์นี้ ฟิกอาจยวยงอ หลังโค้งเป็นสะพานโค้งได้ โดนเฉพาะหน้าร้อน 
ยิ่งอยู่ในตู้กระจก อากาศไม่ถ่ายเทก็เป็นการอบไปในตัว 

*วัสดุฟิกเดี๋ยวนี้ทำจากPVCมันไม่ทนต่ออากาสร้อนๆสักเท่าไหรเหมือนพวกยางนั้นแหละ ถ้าเป้นเรซิ่นก็ว่าไปอย่าง

ตู้ที่ไม่มีกระจก เปิดโล่ง ข้อดีคือไม่อบแน่นอน 
ข้อเสีย ฝุ่นมาชัวร์ 100% ฟิกอาจร่วงลงมาได้เนื่องจากไม่มีกระจกกัน 

ราคาขอตู้นี้ก็ต้องขึ้นกับว่าเจ้าของจะทุมทุนเท่าไหนล่ะครับ ให้ดีก็สั่งทำ ไม่ไหวก็เดินหาเลือกตามร้านอย่าง Indexก็ได้ สวยดูดีมีเยอะ
แต่ถ้าสั่งทำ ผมไม่แนะนำให้ไปสั่งกับร้านที่รับทำตู้ใส่โมเดลโดนเฉพาะนะ เพราะเคยถามราคาพวกนี้มาแล้วแพงเวอร์ ถึงขั้นเวอร์มาก เหมือนรู้ว่าพวกเล่นฟิกไม่รู้ราคาของตู้พวกนี้อ่ะ
แนะนำให้ไปหาร้านที่เขาตัวทำฟอนิเจอร์ทั่วไปดีกว่า ถ้าวาดแบบได้ติดไปคุยกับช่างเลยจะดีที่สุด

อันนี้เพิ่มเติมหน่อย เกี่ยวกับไฟที่ติดในตู้

มีตู้แล้วก็ต้องอยากติดไฟในตู้ 

ตู้ฟิก ไฟที่ติดควรจะเป็นหลอดที่ไม่ร้อน พวกหลอดแสงสีส้มๆ ที่หลายคนว่าสวยเนี่ย ห้าม ถ้าไม่เชื่อหรอกถ่ายรูปฟิกวันที่แกะออกจากกล่องไว้ แล้วเอาไฟไปใส่ในตู้ที่ติดไฟสีส้มดูสิ
สักเดือนสองเดือนลองเอามาเทียบสีดู เป็นการทดลองง่ายๆ =w= เว้ณแต่มีนักเรียนคนไหนอยากจะทดลองไหมเอ่ย?
แนะนำเป็นไฟแสงขาว ถ้าไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับไฟนักให้ไปร้านขายพวกโตมไฟ หลอดไฟใหญ่ๆหน่อย ถามคนขาย(ที่ดูมีความรู้ไม่ใช่พวกจ้างมาขาย) ให้เขาแนะนำให้ 
มีเพื่อนผมเข้าใช้หลอดLEDมาต่อกันเป็นแผง ก็สวยดี แถมไม่ร้อนด้วย แต่อันนี้ทำอย่างหน่อย

การวางฟิกในตำแหน่งห้อง
ถ้าห้องมีหน้าต่าง ให้ดูช่วงเวลาดูว่าแสงแดดที่ส่องเข้ามาในห้องน่ะ มันลงตรงไหนบ้าง ก็เอาตู้ฟิกหลบจากที่แสงลงซะ 
แสงแดดจะทำให้ฟิกเหลืองเนื่องจากUVในแดดไปทำปติกิริยากับเนื้อ PVC เหมือนพวกเรซิ่น ก็เหลือถ้าโดนแดดมาก ๆ 
อ่อไฟในห้องก็ทำให้ฟิกเหลืองได้เหมือนกันนะ เพราะหลอดไฟก็มีUVเช่นกัน 
หลอดไฟชนิดที่ไม่มีUVนั้นไม่มีหรอกครับแต่จะมีหลอดบางแบบที่จะมีปริมาณ UV ที่ต่ำมาก หลอดพวกนี้มักใช้ในหอศิลป์ 
อาจจะหายากสักหน่อย แต่มันมีเพราะผมมีอาจารย์ที่ทำงานในหอศิลปืแล้วเขาบอกว่าให้ไปหาตามร้านขายพวกหลอดไฟใหญ่ๆเอา ถ้าหอศิลป์มีใช้มันก็ต้องหาได้ล่ะ

สุดท้ายเรื่องความสะอาด 
ไม่อยากให้ฟิก โทรมก็ต้องหมั่นทำความสะอาด ถึงจะมีตู้กระจก หรอกไม่มี ก็ควรที่จะปัดฝุ่นมั่ง 
เดือนล่ะครั้งก็ได้ แต่ผมทำ 1-2อาทิตย์ต่อครั้ง ทำทีก็ปัดกวาดทั้งห้อง ห้องจะได้สะอาด
เว้ณแต่ขี้เกียจนี้ก็ไม่มีใครช่วยได้แหละ 

การเบรคของ Fixed gear

Back pressure
back pressure คือการฝืนบันไดให้ปั่นช้าลง คนส่วนใหญ่ที่ปั่น fixed gear ครั้งแรกก็เบรคด้วยวิธีนี้ เนื่องจากบันไดของ fixed gear จะหมุนเร็วขึ้นตามความเร็วของล้อ (และรถ) การขืนให้มันหมุนช้าลงจะทำให้รถค่อยๆช้าลงและหยุดได้ในที่สุด
การหยุดแบบนี้ใช้ระยะเบรคเยอะที่สุด โอกาสที่ล้อจะไถลก็น้อยที่สุดเช่นกัน ทำให้เหมาะกับการเบรคบนถนนลื่น เช่นตอนฝนตก
Skip stop
Skip stop คือการยกล้อหลัง ทำให้ล้อหลังลอยจากพื้น (เพื่อทำให้แรงเสียดทานที่ล้อหมดไปในทันที) แล้วพอรถตกลงมาก็จะเกิดแรงเสียดทานสถิตทำให้รถลดความเร็วลงอย่างรวดเร็ว แล้วเสี้ยววินาทีถัดมาถ้าเราเกร็งขาไว้ไม่มากพอ บันไดก็จะดึงให้รถไปต่อ ถ้าเราเกร็งขาแข็งไว้พอ ล้อจะเริ่มไถลกลายเป็นแรงเสียดทานจลน์ เกร็งขาต่อไปก็จะหยุดรถได้ แต่ใช้ระยะเบรคเยอะเพราะแรงเสียดทานจลน์หยุดรถได้ไม่ดีมาก (ขึ้นกับดอกยางและพื้นถนน) ส่วนใหญ่ก็จะแก้สถานการณ์โดยการยกล้อหลังอีกที
การยกล้อหลังฟังดูยาก แต่จริงๆแล้วคือการกระโดดธรรมดานี่เอง (แต่ต้องไม่เผลอดึงล้อหน้าขึ้นมาด้วยนะ ไม่งั้นจะเป็นกระโดดสองล้อ) เพราะปรกติเท้าเราจะติดกับสายรัดหรือตะกร้ออยู่แล้ว พอเราย่อขาแล้วยืนเร็วๆ (กระโดด) ครึ่งหลังของจักรยานก็จะติดขึ้นมาเอง
Skid stop
การ Skid คือการล็อคขาให้บันไดหยุดทันที ถ้ารถเคลื่อนที่ช้ารถจะหยุดด้วยแรงเสียดทานสถิต ถ้ารถเคลื่อนที่เร็วเกินกว่าแรงเสียดทานสถิตจะเอาอยู่ ล้อหลังจะเริ่มไถลเกิดแรงเสียดทานจลน์ ซึ่งก็หยุดรถได้ แต่จะใช้ระยะเบรคค่อนข้างเยอะ
การ skid มีหลายท่า ทั้ง mid skid, front skid, whip skid, seat skid
  • mid skid — ยืนขึ้นแล้วล็อคขา ให้ล้อหลังไถลจนหยุด ผมรู้สึกว่าอันนี้ง่ายสุด เป็นอันแรกที่ผมทำเป็น
  • front skid — ยืนขึ้นแล้วโน้มตัวไปพิงแฮนด์ การถ่ายน้ำหนักไปด้านหน้าทำให้ล้อหลังไถลได้ง่ายขี้นเพราะแรงที่กดลงล้อน้อย ระยะเบรคจะยาวขึ้น ไม่เหมาะใช้หนีตาย เหมาะใช้เล่นสนุก หรือไถลลงเนินเพราะขี้เกียจปั่น
  • whip skid — คล้าย mid skid แต่สะบัดเอวออกข้าง สำหรับผมมันเกิดขึ้นเองตอนเหนื่อยๆ แล้วทำ mid skid พลาด แต่ทำไปเรื่อยๆก็เริ่มควบคุมให้ล้อหลังไถลออกข้างได้ ดีกว่า mid skid ตรงที่หน้ายางของล้อหลังจะเปิดออก (เพราะท้ายปัด) ทำให้ระยะเบรคสั้นลง แต่กินพื้นที่ด้านข้างเวลาเบรค ไม่เหมาะจะใช้บนถนน เพราะรถที่ตามมาจะคาบเราไปกินได้
  • seat skid — เหมือนจะง่ายมาก แต่ยากมากสำหรับผม เพราะขาไม่แข็งแรงพอ ถ้าไม่มาเร็วจริงๆจะหยุดไม่ได้ บางครั้งขาอาจจะหลุดจากตะกร้อ หรือรองเท้าหลุดเลยก็มี seat skid จะใช้ระยะเบรคน้อยสุดในบรรดาท่า skid ทั้งหลาย เพราะน้ำหนักตัวเรากดอยู่ที่ล้อหลัง อย่างไรก็ตาม ยังไม่เหมาะจะใช้กับถนนลื่นเพราะอาจจะหยุดไม่ทันอยู่ดี
การ skid ถ้าทำเป็นแล้วค่อนข้างสะดวกเพราะเราระเบิดแรงออกมา (ทั้งแขน, ทั้งขา, ทั้งลำตัว) เพื่อ ทำลายแรงเสียดทานสถิตให้กลายเป็นแรงเสียดทานจลน์ หลังจากนั้นจะใช้แรงน้อย เพราะเราอาศัยดอกยางล้อหลังเป็นคนเบรค ถ้า skid บ่อยๆควรเช็คดอกยางล้อหลังทุกๆเดือน และน่าจะต้องเปลี่ยนทุกๆ 3 เดือน
การ skid อาศัยการไถลของรถ ฉะนั้นยางหลังมีความสำคัญมาก ยางแต่ละเส้นจะให้ความรู้สึกไม่เหมือนกัน ระยะเบรคไม่เท่ากัน เวลาเพิ่งเปลี่ยนยางใหม่ควร skid เล่นๆในที่ปลอดภัยเพื่อทำความคุ้นเคยกับมันก่อน
การทำให้ล้อไถลจะทำได้ง่ายบนถนนลื่น เหมาะจะใช้เล่นสนุก แต่การ skid ไม่เด่นเรื่องความปลอดภัย ไม่ควรใช้หนีตาย ถ้าจะใช้ เราต้องรู้ว่าความเร็วเท่าไหน สถานการณ์แบบไหน ใช้แต่ละท่าจะใช้ระยะเบรคเท่าไหร่ มีรถตามมามั๊ย เรามีพื้นที่ข้างๆให้ไถลไปหรือเปล่า

Fixed gear มาจากไหน
Fixed Gear คือจักรยานที่ใช้ในการแข่งขันจักรยานประเภทลู่ใช้แข่งขันในเวลโลโดม  เมื่อนักปั่นจักรยานใช้จักรยานไปนานๆ เข้าเกิดชำรุดทรุดโทรมไปบ้างเลยนำไปขาย  เมื่อนักปั่นส่งหนังสือพิมพ์ส่งตามบ้านในเมืองนอกเห็น เลยซื้อมาใช้ปั่นทำงานเพื่อส่งหนังสือพิมพ์ พอช่วงเย็นๆ หลังเลิกงาน ก็มีการนัดรวมตัวกันเพื่อฝึกซ้อมทริกท่าต่างๆ ที่ทั้งแปลกและสร้างสรรค์ขึ้น

Fixed Gear คืออะไร

  FIXED GEAR จักรยานธรรมดาที่ไม่ธรรมดานี้กำลังเป็นที่นิยมกันมาก เนื่องจากว่ามันมีเกียร์เดียวแถมยังไม่มีเบรค การขับขี่และการควบคุมมันนั้นถือว่าเป็นอะไรที่สนุก ท้าทายและต้องใช้ทักษะอย่างสูง อุปกรณ์และโครงสร้างของตัวจักรยานก็มีจำนวนน้อยชิ้นกว่าจักรยานทั่วๆไป ทำให้มีน้ำหนักเบาเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้สะดวก ดูแลรักษาง่าย แข็งแรง ทนทาน ไม่มีปัญหาให้ต้องเอาไปซ่อมอยู่บ่อยๆ นอกจากยางแตกเท่านั้น แถมผู้เล่นนั้นยังสามารถตกแต่งสีสันและรูปลักษณ์ของจักรยานได้หลากหลายรูปแบบตามใจชอบได้อีกด้วย



จักรยาน FIXED GEAR ความสนุกที่ไม่ติดเบรค